วันนี้ผมจะมาสอนวิธีการสร้าง System Restore และวิธีการ Restore สำหรับ System Restore โดยผมแนะนำว่าเราควรที่จะทำการสร้าง System Store เอาไว้ให้กับ Windows ของเราไว้มั้ง เพื่อในกรณีฉุกเฉินก็สามารถทำการ Restore System กลับคืนได้ โดยจะได้ไม่ต้องไป Format Windows ให้เสียเวลา โดยการทำ System Restore นั้นสามารถทำได้ตั้งแต่ Windows XP / Windows 7 / Windows 8.1 และ Windows 10
System Restore เวลาทำการ Restore จะมีผลกับดังนี้
– โปรแกรมที่เราลงหลังจากการทำในการทำ Create System Restore แต่ละครั้ง
เช่น เราทำการสร้าง Create System Restore ในวันที่ 01/02/2015 จากนั้นเราทำการลง Program Photoshop ในวันที่ 03/02/2015 และในวันที่ 04/02/2015 คอมพิวเตอร์ Windows ของเรามีปัญหา เราก็เข้ามาทำการทำ System Restore ไปยังวันที่เราสร้าง โดยผลจะกระทบก็มีแค่เพียงโปรแกรมนั้นก็คือ PhotoShop นั้นเอง
ย้ำนะครับ!!! ในการทำ System Restore จะไม่มีผลกระทบต่อไฟล์ Word / Excel / PowerPoint หรือไฟล์ต่างๆ โดยจะมีผลเฉพาะต่อโปรแกรมที่เราลงหลังจากนั้น
การสร้าง Create System Restore สำหรับ Windows 10
1. ทำการคลิกขวาที่ This PC > เลือก Properties
2. ทำการคลิกเมนู System Protection > จากนั้นให้ดูว่า Drive C ของเราเป็น ON แล้วหรือยัง ถ้าเป็น OFF ให้ทำการเปิดเป็น ON โดยทำการคลิกที่ Drive C จากนั้นกด Configure > เลือก Turn On system Protection
3. คลิก Create > ทำการสร้างชื่อ Restore Point
โดยแนะนำให้ตั้งชื่อใส่เป็น วันที่ไปด้วยครับ
4. จากนั้นรอสักครู่ ระบบจะทำการสร้าง Create Point ของ System Store เอาไว้ให้
5. เสร็จสิ้นการสร้าง Restore Point สำหรับการทำ System Restore Windows
วิธีการทำ System Store Windows ในกรณี Windows มีปัญหา
1. ทำการคลิกขวาที่ This PC > เลือก Properties > คลิก System Protection
2. คลิก System Restore
3. ให้ทำการเลือก Choose a different restore Point
4. ทำการเลือก Restore Point ที่เราได้ทำการทำไว
แนะนำว่า ให้เลือกย้อนเวลากลับไปใกล้ที่สุดนับจากปัจจุบันที่เราทำไว้
โดยเราสามารถเลือกที่ Check Point ของเวลา และกด Scan for affected program จากนั้นจะแสดงว่าถ้าเราย้อนกลับไปในช่วงเวลานั้นๆที่เราเลือก จะมีผลต่อโปรแกรมอะไรมั้งที่จะต้องลงใหม่
5. จากนั้นทำการกด Finish และรอการทำ System Restore สักครู่
จากนั้นเมื่อทำเสร็จแล้วก็ให้ทำการ Restart คอมพิวเตอร์ 1 ครั้ง ก็เป็นเรียบร้อย จากนั้นก็ลองเข้า Windows ใหม่ดูอีกครั้ง
ในกรณี Boot Windows 10 ไม่ขึ้น ให้เข้า SafeMode Windows 10
สำหรับใคร Boot ไม่ขึ้นให้ทำการเข้า Safe Mode Windows 10 โดยปกติใน Windows 10 ถ้าคอมพิวเตอร์ของเรามีปัญหา มันจะให้กดเข้า Safe mode Windows ลองสังเกตุเอาละกันครับ ว่ามันให้กดอะไร เพราะคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อนั้นไม่เหมือนกัน
1. เลือก Troubleshoot
2. เลือก Advanced options
3. เลือก System Restore
4. เลือก Account ที่เราทำ System Restore เอาไว้
5. กรอก Password ของ Account ที่เลือกไป
6. ทำการเลือกช่วงเวลาในการทำ Check Point
โดยเราสามารถเลือกที่ Check Point ของเวลา และกด Scan for affected program จากนั้นจะแสดงว่าถ้าเราย้อนกลับไปในช่วงเวลานั้นๆที่เราเลือก จะมีผลต่อโปรแกรมอะไรมั้งที่จะต้องลงใหม่
7. คลิก Finish > และเลือก Yes และรอประมาณ 10 นาที
8. จากนั้นเราก็จะ Boot เข้า Windows ได้ปกติ
ในการทำ System Restore ผมแนะนำว่าให้ทำ ทุกๆ 3 เดือน หรือจะทำก่อนที่จะทำการลงโปรแกรมใหม่ๆที่มันหนักๆเครื่องอาทิเช่น AutoCAD
โดยการทำ System Restore ผมแนะนำว่า ให้ทำการก่อนที่จะทำอะไรที่มีผลต่อคอมพิวเตอร์ในระบบ System เผื่อมีเวลาอะไรฉุกเฉินที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาผมก็สามารถทำการ System Restore ได้เลยครับ โดยการทำ System จะมีผลต่อโปรแกรม กับระบบ System ของ Windows
อาทิเช่น เราทำการ สร้าง Create System Restore ในวันที่ 1/1/2015 และอีก 5 วัน เราทำการลง Photoshop จากนั้นวันที่ 20/1/2015 คอมพิวเตอร์เกิดมีปัญหาทำให้เราต้องทำการ System restore พอเราทำการ System Restore เสร็จสิ้น Windows จะย้อนกลับไปในวันที่เราลือก File Restore โดยโปรแกรม Photoshop ก็จะหายไปด้วย (แต่ไฟล์ File Document หรือไฟล์เอกสารต่างๆจะไม่หายและจะไม่ถุก restore นะครับ)