โดยในการใช้ฟังก์ชั่นของ IF จะเป็นการทดสอบว่าเป็นเงื่อนไขจริงหรือเท็จ ช่วยให้เราทำการเปรียบเทียบตรรกะกับค่า Value ที่เราได้ใส่เงื่อนไขลงไป โดย IF (ถ้าข้อมูลเป็นจริงก็ให้ทำเป็นจริง แต่ถ้าไม่ใช่จริงก็ให้ทำเท็จ) โดยเป็นการใช้ Logic ในการเขียน IF แต่ถ้าเป็นสูตรง่ายๆคงไม่ยาก แต่ถ้าใครจะทำ IF ซ้อน IF ก็ให้ดูเงื่อนไขดีๆ
ตัวอย่างเช่น ฟังก์ชั่น IF ใช้อาร์กิวเมนต์ต่อไปนี้
=IF(logical_test,Value_if_true,Value_if_False)
สูตรที่ใช้ฟังก์ชัน IF ของ Excel
logical_test: เงื่อนไขที่คุณต้องการตรวจสอบ
value_if_true: ค่าที่ส่งกลับถ้าเงื่อนไขเป็นจริง
value_if_false: ค่าที่ส่งกลับเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ
ตัวอย่าง IF อย่างง่าย
=IF(A2=”YES”,1,2) ถ้า A2 มีค่าเท่ากับ YES ให้แสดงค่าเป็น 1 แต่ถ้า A2 ไม่ใช่ YES ให้แสดงค่าเป็น 2
=IF(B2>C2,”กำไร”,”ขาดทุน”) ถ้ารายได้ มากกว่า รายจ่าย ให้แสดง กำไร | แต่ถ้า รายได้ น้อยกว่า รายจ่าย ให้แสดงขนาดทุน
การใช้ If ในการคำนวนเกรดของนักศึกษา โดยทำเป็นเงื่อนไข ในการกำหนดเกรดของนักศึกษาว่าจะได้จะเกรดเท่าไร โดยเราใส่ที่ คะแนนสอบกลางภาค ฟังก์ชั่น Excel ก็จะคำนวณตามเงื่อนไขที่เราได้
=IF(C3>89,”A”,IF(C3>79,”B”,IF(C3>69,”C”,IF(C3>59,”D”,”F”))))
ตัวอย่าง IF ที่ซ้อนกัน (IF ซ้อน IF)
เมื่อการใช้ IF จะมีแค่เพียง2 ผลลัพธ์เท่านั้นตือ (จริงและเท็จ) โดยการใช้ IF ที่ซ้อน IF กันสามารถมีได้ตั้งแต่ 2 ถึง 64 ผลลัพธ์
ตัวอย่าง
=IF(B2=1,”YES”,IF(B2=2,”NO”,”Waiting”))
ถ้า B2=1 ให้แสดงเป็น YES โดยที่ถ้า B2=2 ก็ให้แสดงเป็น NO แต่ถ้า B2 ไม่เท่ากับ 1 และ 2 ก็ให้แสดง Waiting
โดยเป็นการใช้สูตรง่ายๆสำหรับ การทำ IF ของ Excel โดยเพื่อนๆสามารถ นำความรู้ในการใช้ Function ของ IF นำไปใช้ IF ซ้อน IF ได้อย่างสบาย